สถาบันวิจัยดาราศาตร์แห่งชาติ หรือ สดร. เผยภาพผ่านเฟซบุ๊ก เผยให้เห็นภาพถ่ายเนบิวลาฝีมือคนไทย ที่ถ่ายโดยคุณวชิระ โธมัส พร้อมได้รับรางวัลรางวัลชนะเลิศ การประกวดภาพถ่ายดาราศาสตร์ประจำปี 2566 ประเภทวัตถุในห้วงอวกาศลึก (Deep Sky Objects)
โดยภาพเนบิวลาดังกล่าวประกอบด้วย “เนบิวลาค้างคาวบิน” และ “เนบิวลาหมึกกล้วย” ซึ่งเป็นเนบิวลาที่ไม่ค่อยได้พบเห็นนัก เนื่องจากจะสามารถพบเห็นได้ในช่วงฤดูฝนของประเทศไทย ทำให้ท้องฟ้าไม่โปร่ง สังเกตเห็นได้ยาก
ผลสังเกตการณ์หลุมดำ M87 พบหลักฐานแรกที่ยืนยันว่า "หลุมดำกำลังหมุน"
ภาพ “ริบบิ้นฝุ่น” จาก เจมส์ เว็บบ์ ไขความลับจักรวาลยุค “คอสมิกนูน”
เปิดภาพ รวมดาวเสาร์ถ่ายโดยคนไทย ตลอด 8 ปีที่ผ่านมา คำพูดจาก เว็บสล็อตตรง
สดร. เผยว่า คุณวชิระ ถ่ายภาพดังกล่าวไว้เมื่อวันที่ 23 มิถุนายนที่ผ่านมา บริเวณอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ ใช้กล้อง ZWO ASI2600mc-pro เลนส์ WO Redcat51 ขนาดรูรับแสง 51 มิลลิเมตร ความยาวโฟกัส 250 มิลลิเมตร อัตราส่วนทางยาวโฟกัส f/4.9 และตั้งค่าความไวแสง หรือ ISO ไว้ที่ 100
สดร. ระบุว่า ภาพกลุ่มแก๊สไฮโดรเจนสีแดงขนาดใหญ่ในภาพ คือบริเวณของ “เนบิวลาค้างคาวบิน” หรือ Sh2-129 เป็นเนบิวลาเปล่งแสง (Emission nebula) อยู่ในบริเวณกลุ่มดาวซีฟิอัส ห่างจากโลกประมาณ 2,300 ปีแสง ซึ่งได้ซ่อนอีกเนบิวลาหนึ่งไว้ภายใน นั่นคือ “เนบิวลาหมึกกล้วย” หรือ OU4 มีลักษณะโดดเด่นคือแสงที่เปล่งออกมานั้นเป็นสีเขียวอมฟ้า ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของแก๊สออกซิเจน ทำให้เกิดสีตัดกันอย่างสวยงาม
เนบิวลาทั้งสองนี้ เพิ่งถูกค้นพบเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2554 โดย นิโคลัส เอาท์เตอร์ส นักถ่ายภาพดาราศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ซึ่งการเปล่งแสงของเนบิวลานี้ เกิดจากการได้รับพลังงานมหาศาลจากดาวฤกษ์มวลมากชื่อ HR 8119 หรือ HD 202214 ที่ปรากฏสว่างเด่นอยู่ใกล้ใจกลางเนบิวลา
สดร. เผยความท้าทายของการถ่ายภาพนี้ว่า เนบิวลาทั้งสอง จะสังเกตได้ในช่วงฤดูฝนของประเทศไทยเท่านั้น จึงมีโอกาสบันทึกภาพน้อยมาก เนื่องจากสภาพท้องฟ้าที่ไม่เอื้ออำนวย อีกทั้งเนบิวลาหมึกกล้วยยังแผ่รังสีที่ค่อนข้างจางมาก ต้องบันทึกภาพผ่านฟิลเตอร์ Oiii เท่านั้น จึงต้องอาศัยการเก็บสะสมสัญญาณภาพเป็นเวลานาน เพื่อให้ปรากฏสีเขียวอมฟ้าอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ ยังระบุว่า คุณวชิระ ได้ถ่ายภาพ 2 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ใช้ฟิลเตอร์ Optolong L-eXtreme เพื่อให้ได้สัญญาณช่วงไฮโดรเจนแอลฟากับ Oiii เป็นเวลา 50 ชั่วโมง ส่วนชุดที่ 2 ใช้ฟิลเตอร์ IDAS D1 เพื่อเก็บแสงของดาวอื่น ๆ เป็นเวลา 20 ชั่วโมง รวมเวลาทั้งหมดกว่า 70 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาประมวลผลด้วยโปรแกรมเพื่อให้ได้รายละเอียดมากที่สุด
เรียบเรียงจากNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจากNARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ