• Sun. Nov 24th, 2024

ไขคำตอบ จุดเริ่มต้น "พายุสนามแม่เหล็กโลก" มาจากอะไร-

Byadmin

May 23, 2024
0 0
Read Time:2 Minute, 29 Second

หลังจากที่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน หรือ GISTDA เตือนคนไทยเตรียมรับมือ "พายุสนามแม่เหล็กโลก"ที่กระทบโลกรุนแรง ตั้งแต่ค่ำคืนวันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เวลา 22.00 น. โดยประมาณ ตามเวลาประเทศไทย

ขณะเดียวกัน GISTDA ก็ได้ออกมาให้ความรู้ เกี่ยวกับจุดเริ่มต้นของ “พายุสนามแม่เหล็กโลก” ที่ไทยกำลังเผชิญด้วย ซึ่งจุดเริ่มต้นของพายุสนามแม่เหล็กโลก ก็มาจากดาวฤกษ์พลังงานสูงที่ให้แสงสว่างและความอบอุ่นแก่มนุษย์อย่าง "ดวงอาทิตย์"

GISTDA ระบุว่า ดวงอาทิตย์ที่อยู่ห่างจากโลกระยะทางกว่า 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 1 AU แม้จะดูห่างไกล แต่กิจกรรมที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ ส่งผลต่อสภาวะอวกาศ (Space Weather) และกิจกรรมของมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอวกาศ ซึ่งหนึ่งในกิจกรรมที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์ คือ "การปะทุ" ที่รุนแรง

โดย GISTDA เริ่มติดตามบริเวณที่มีการปะทุ (AR 3664) ของดวงอาทิตย์ ที่ขยายขนาดใหญ่ขึ้นต่อเนื่อง หลายสำนักข่าวนานาชาติ ตั้งชื่อบริเวณนี้ว่า "Monster Sunspot Region"ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีการปะทุรุนแรงและต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันคำพูดจาก JOKER123 สล็อตเว็บตรง

นับตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา บริเวณที่ปะทุ ได้ปล่อยเปลวสุริยะ (Solar Flare) ระดับความรุนแรงสูงสุด (X Class) ทั้งหมด 7 ครั้ง

และการปะทุดังกล่าว ทำให้เกิดการปลดปล่อยมวลโคโรนา ส่งผลให้เกิดลมสุริยะ (Solar Wind) และพายุสนามแม่เหล็กโลก ตั้งแต่วันที่ 10 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นมา

จากข้อมูลขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ NOAA ระบุว่า โดยปกติ ลมสุริยะมีความเร็วประมาณ 300-500 กิโลเมตรต่อวินาที และจะมีความเร็วเพิ่มขึ้นสูงสุดไปที่ประมาณ 1,000 กิโลเมตรต่อวินาที และมีค่าสนามแม่เหล็กรวม (Bt) จากเดิมอยู่ในระดับต่ำกว่า 10 nT และเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 74 nt

สำหรับค่าสนามแม่เหล็กโลกบริเวณประเทศไทย จากการวิเคราะห์ข้อมูล local K index ตั้งแต่วันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ค่า local K-index ขึ้นสู่ระดับสูงสุดที่ระดับ 9 หรือ G5 โดยมีความรุนแรงขั้นสูงสุดของพายุสนามแม่เหล็กโลก (Extreme level) ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2567 ในช่วงเวลา 11:00 – 16:00 น. ตามเวลาประเทศไทย

ซึ่งมีโอกาสส่งผลกระทบกับดาวเทียมที่โคจรในอวกาศ ระบบการสื่อสาร และระบบนำร่อง อาจจะถูกรบกวนหรือไม่สามารถสื่อสารได้ชั่วคราว โดยทาง GISTDA อยู่ระหว่างการติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากมีข้อมูลสำคัญ จะแจ้งให้ทราบโดยทันที

ที่มา : GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ องค์การมหาชน

น้ำตาท่วม! ประชุมผู้ปกครอง ครูขอพ่อแม่อย่ายัดเยียดความฝันตัวเองให้ลูก

ทำความเข้าใจ "พายุแม่เหล็กโลก" ก่อนไทยเจอรุนแรงระดับ 7 หรือ G 3 มีผลอย่างไร ?

เปิดโปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงเนชั่นส์ ลีก 2024 รอบแรก ครบทุกนัด

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin